หน้าแรก

 

It all started with our long-standing experience of compressed air business. Then SCHENKEN CO., LTD. was established in 2002. Later on, SCHENKEN was appointment become authorized dealer for ATLAS COPCO (THAILAND) LTD. equipment and spare parts  Which will look after all customers with in Ayutthaya, Angthong, Singburi, Suphanburi, Nakornsawan, Sukhothai, Kamphaengphet, Kanchanaburi, Petchaburi and Chainat province of Thailand.

In subsequent year, the company has grown and have package our know how for planning and engineering, to provide complete installation.  Our scope of supply and service for engineering product such as: Air Compressor, Air Dryer, Air Filter, Air Receiver Tank and Pneumatic Equipment. For engineering work such as: Air Compressor installation and piping system. 

" เป็นการเริ่มต้นจากประสบการณ์ที่ยาวนานเกี่ยวกับธุรกิจเครื่องอัดอากาศ บริษัท เช็งเค่น จำกัด ถูกก่อตั้งในปี 2002 ต่อมาบริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่าย ของ บริษัท แอตลาสคอปโก้ (ประเทศไทย) จำกัด อย่างเป็นทางการ "

จำหน่ายอุปกรณ์และชิ้นส่วนอะไหล่  ภายใต้แบรนด์ Atlas Copco  พร้อมทั้งให้บริการลูกค้าอย่างครบวงจร ในการวางแผน มีการจัดหาผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องอัดอากาศ เครื่องทำลมแห้ง เครื่องกรองอากาศ เครื่องผลิตไนโตรเจน & ออกซิเจน เครื่องเป่าลม เครื่องดูดสุญญากาศ เครื่องวัดลมแบบลากจูง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องมือสกัดคอนกรีต และถังลม รวมถึงอุปกรณ์นิวเมตริก ตลอดจนมีการให้การบริการด้านงานออกแบบติดตั้งและวางระบบที่คำนึงถึงการประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งให้เหมาะสม

 

ปั๊มลมยี่ห้อไหนดี คำถามยอดฮิตของมือใหม่ในการจะซื้อปั๊มลมมาใช้ในครั้งแรก ก่อนอื่นก็คงจะต้องศึกษามาก่อนละว่าปั๊มลมทั้งหมดมีกี่แบบ แต่ละแบบใช้งานต่างกันอย่างไร และมี่ยี่ห้ออะไรบ้างในท้องตลาด เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราควรที่จะใช้แบบไหนเพื่อให้ตรงกับความต้องการในการใช้งาน  ส่วนยี่ห้อของปั๊มลมก็ถือว่าสำคัญด้วยเหมือนกัน เพราะราคาของแต่ละยี่ห้อก็ไม่เหมือกัน การบริการหรือการเซอร์วิสหลังการขายก็ไม่เหมือนกัน ผู้ซื้อก็ควรจะดูต้องนี้ประกอบกันด้วย โดยเฉพาะบริษัทผู้ที่ขายไปซื้อสินค้า ก็ควรจะดูด้วยา่าตั้งมานานแค่ไหน ขายปั๊มลมของยี่ห้อไหนเป็นต้น บริษัท เช็งเค่น จำกัด ตัวแทนจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เครื่องอัดอากาศ ภายใต้แบรนด์ Atlas Copco ซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยี อันเป็นที่รู้จักในวงการอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง เรามีอะไหล่และอุปกรณ์การวัดปริมาณการใช้ลม อุปกรณ์นิวเมตริก ครอบคลุม ไปจนถึง บริการหลังการขายและเครื่องเช่า

 

 

 

 

      

 

เครื่องอัดอากาศแบบสกรูชนิดหล่อลื่นด้วยน้ำมัน GA VSD+ จาก Atlas Copco

1. มีให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ 7-110 kW (10-150hp) พร้อมให้คุณค้นหาโซลูชันที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

2. เครื่องมาพร้อมกับการติดตั้ง Integrated Dryer ภายใน ทำให้คุณภาพของลมที่ออกมานั้นได้ประสิทธิภาพ

3. ระบบ Elektronikon® Controller ที่มีการออกแบบและพัฒนามาโดยเฉพาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านประหยัดพลังงานมากขึ้น
4. ด้วยเทคโนโลยี VSD+ ที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Atlas Copco ส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงานได้มากถึง 50%

5. เพิ่มปริมาณการผลิตลมอัด (Free Air Delivery: FAD) ได้สูงสุดถึง 12% ที่ขนาดมอเตอร์เท่ากันเพื่อประสิทธิภาพและการทำงานที่ดียิ่งขึ้น

6. แก้ปัญหาเรื่องพื้นที่จำกัดด้วยการออกแบบสกรู (Screw) ในแนวตั้งจึงทำให้เครื่องมีขนาดที่เล็กลง

         อย่าปล่อยให้คู่แข่งแซงหน้าไป ก้าวมาเป็นที่สุดของผู้นำด้านการผลิต เริ่มจากการเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องอัดอากาศที่มีประสิทธิภาพกับ Atlas Copco

 

 
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าอัดลมให้ได้แรงดันที่สูงขึ้นกว่าแรงดันบรรยากาศ ตามผู้ใช้ต้องการ รูปแบบการทำงานด้วยลมนี้เรานำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายทั้งแบบปั้มและแบบเครื่องอัดลมเพื่อให้เกิดความดันสูงขึ้น และสามารถนำไปใช้ในรูปแบบหนึ่งของพลังงาน นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก จนถึงโรงงานขนาดใหญ่ เช่นตามร้านซ่อมเครื่องยนต์ต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงร้านซ่อมจักรยานยนตร์ การใช้งานของแต่ละประเภทปั๊มลมก็จะแตกต่างกันปั๊มลมประเภทลูกสูบ มีขนาดที่พอดี ไม่ใหญ่มากจนเกิดไป สามารถใช้งานได้ในครัวเรือน ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและใหญ่ทั่วไปนั้นก็จะใช้เป็นปั๊มลมประเภทสกรู ที่จะต้องใช้แรงดันอยากมากในการทำงาน สามารถทำความดันลมได้สูงถึง 13 บาร์
 
 
 
 
 
การทำงานของ AIR COMPRESSOR คือเมื่อเปิดสวิทช์การทำงานของเครื่อง  ถ้าอากาศยังมีความดันต่ำกว่าที่กำหนด Pressure Switch ก็จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุน และไปขับให้ปั๊มอัดอากาศทำงานด้วย และเมื่ออากาศภายในถังบรรจุอากาศมีความดันสูงถึงพิกัดที่กำหนดไว้ Pressure Switch ก็จะตัดวงจรไฟฟ้าให้มอเตอร์หยุดทำงานด้วย แต่เมื่ออากาศภายในถังบรรจุอากาศถูกนำไปใช้งาน และความดันภายในถังบรรจุอากาศต่ำลงจนถึงตำแหน่งที่กำหนดไว้ Pressure Switch ก็จะต่อวงจรให้มอเตอร์และปั๊มอากาศทำงานต่อไป โดยการทำงานของปั๊มอัดอากาศ (Air compressors) จะทำงานสลับกันไปเช่นนี้ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ

 

https://www.schenken.co.th


บริษัท เช็งเค่น จำกัด ตัวแทนจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เครื่องอัดอากาศ ภายใต้แบรนด์ Atlas Copco ซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยี อันเป็นที่รู้จักในวงการอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง เรามีอะไหล่และอุปกรณ์การวัดปริมาณการใช้ลม อุปกรณ์นิวเมตริก ครอบคลุม ไปจนถึง บริการหลังการขายและเครื่องเช่า

Welcome to Schenken Co.,Ltd. We are authorized dealer for Atlas Copco equipment,spare parts. Also VP Flowmeter, Pneumatic equipment. We offer after-sales service by qualified technicians. To provide advice and resolve problems with the system and the installation of an Air compressor, Air Dryer and Pneumatic system.  We also stand by Air Compressors for rent and quality air inspection.

คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม (Air compressor) ปั๊มลมสำหรับอุตสาหกรรม Atlas Copcoมีหลากหลายรุ่น มีต้นทุนตลอดอายุการใช้งานต่ำที่สุด ด้วยขนาดเล็ก และสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมของเราจึงเหมาะสำหรับการใช้งานทุกรูปแบบ คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมอุตสาหกรรมที่ครบครัน ทั้งชนิดหล่อลื่นด้วยน้ำมัน (oil-lubricated) และชนิดไม่มีน้ำมัน (oil-free) ซึ่งเหมาะกับทุกอุตสาหกรรมและการใช้งานทุกรูปแบบ ชุดผลิตภัณฑ์ของเรามีจำหน่ายในรูปแบบที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ นอกจากนี้เรายังมีการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในงานเฉพาะ ทั้งงานอุตสาหกรรมทางทะเล ทางรถไฟ และทางการแพทย์ คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม ได้รับการรับรอง OHSAS 18001, ISO 9001 และ ISO 14001 ในส่วนของผลิตภัณฑ์คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมชนิดไม่มีน้ำมัน (Oil-free Compressor) ยังได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 8573-1 Class 0 และไลน์การผลิตได้รับการรับรองจาก ISO 22000

ปั๊มลม จะเห็นได้ว่ามีการใช้คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท ทั้งโรงงานซีเมนต์ โรงบำบัดน้ำเสีย และโรงไฟฟ้า หรือแม้แต่ทันตแพทย์เองก็ยังใช้คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม นอกจากนี้ คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมยังสามารถจ่ายลมอัดเพื่อการสร้างหรือการผลิต ตั้งแต่การจ่ายพลังงานนิวแมติกในไลน์ผลิต การพ่นสี การเป่าแก้ว และการขึ้นรูปพลาสติกด้วยความร้อนสูง ไปจนถึงการจ่ายน้ำเข้าสู่ก๊อกน้ำในบ้าน

ทำไมต้องเลือกคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมของ Atlas Copco คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมของ Atlas Copco เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีจากผู้ผลิตที่เป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอากาศอัดมาเป็นเวลามากกว่า 100 ปี ทำให้มีต้นทุนโดยรวมในการทำธุรกิจต่ำที่สุด การลงทุนกับคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม เป็นการลงทุนระยะยาวที่เป็นส่วนสำคัญในธุรกิจอีกหลายปีข้างหน้าของคุณ โรงงานทั่วไปมักจะเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมทุกๆ 7-10 ปี นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายเริ่มต้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการลงทุนในคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม และคุณอาจตกใจเมื่อพบว่าต้นทุนตลอดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมมากกว่า 70% นั้นมาจากการใช้พลังงาน คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมของ Atlas Copco มีต้นทุนโดยรวมในการทำธุรกิจต่ำที่สุด ด้วยการออกแบบที่มีการปรับแต่งอยู่ตลอดเวลาและมอเตอร์ตัวปรับความเร็วรอบ (variable speed drive) ที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้จะช่วยลดยอดค่าใช้จ่ายรวมให้กับคุณและโรงงานได้อย่างมหาศาล

- จำหน่ายเครื่องอัดลม Air Compressor

- ปั๊มลมแบบมีน้ำมันหล่อลื่น Oil injected

- ปั๊มลมแบบไม่มีน้ำมัน Oil-free air compressor

-  Air dryer เครื่องทำลมแห้ง

- Oil & Air Filter ปั๊มลม

- ถังเก็บลมอัด Compressed Air Receiver Tank และออกแบบระบบอัดอากาศ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

บริการเช่าเครื่องอัดลม เครื่องทำลมแห้งหลายขนาด พร้อมติดตั้ง ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ลดความเสียหายจากการหยุดการผลิต เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า เพราะเราเข้าใจหัวใจของ การผลิต
 
ดังนั้น บริษัท เช็งเค่น จำกัด จึงมุ่งเน้นการบริการ การแก้ไขปัญหาอย่างทันที เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ท่าน  เราให้การบริการตามมาตรฐานสากล พร้อมให้ความรู้และเทคนิคการใช้งานต่างๆ อีกทั้งแนะนำการบำรุงรักษา หรือการเปรียบเทียบให้เห็นมูลค่าความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ฉะนั้นหากท่านต้องการลดความเสี่ยงต่อการผลิตของท่าน โปรดจงเชื่อใจในทีมช่างของเรา บริษัท เช็งเค่น จำกัด มีการพัฒนาทักษะทีมช่างอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับความพร้อมบริการงานให้แก่ท่านด้วยชำนาญ 
 
1. Rental Oil – Injected 
 - Rental Air compressor oil-injected GAe22
 - Rental Air compressor oil-injected G55-7.5 
 - Rental Air compressor oil-injected GA37-10FF 
 - Rental air compressor oil-injected GA75-10
 - Rental air compressor oil-injected GA160-10  
 
2. Rental Oil – Free
 - Rental Air compressor Oil-Free ZT22
 - Rental Air Compressor oil-Free ZT45
 - Rental Air compressor oil-Free ZT55-7.5 
 - Rental Air Compressor oil-Free ZT75 
 - Atlas Copco Air Compressor Blower oil-Free ZS55VCA  
 
3. Rental Air Dryer 
 - Rental Air dryer FX16
 - Rental Air dryer FD170
 - Rental Air dryer FD514 
 - Rental Air dryer FD516 
 - Rental Air dryer BD260  
 
4. Rental Tank 
 - Rental Air receiver tank 1,000 Ltrs.
 - Rental Air receiver tank 2,000 Ltrs. 
 - Rental Air receiver tank 5,000 Ltrs.
 

บริษัท เช็งเค่น จำกัด มีการพัฒนาทักษะทีมช่างอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับความพร้อมบริการงานให้แก่ท่านด้วยชำนาญ

1. Rental Oil – Injected

    Rental Air compressor oil-injected GAe22

    Rental Air compressor oil-injected G55-7.5

    Rental Air compressor oil-injected GA37-10FF

    Rental air compressor oil-injected GA75-10

    Rental air compressor oil-injected GA160-10

2. Rental Oil – Free

    Rental Air compressor Oil-Free ZT22

    Rental Air Compressor oil-Free ZT45

    Rental Air compressor oil-Free ZT55-7.5

    Rental Air Compressor oil-Free ZT75

    Atlas Copco Air Compressor Blower oil-Free ZS55VCA

3. Rental Air Dryer

    Rental Air dryer FX16

    Rental Air dryer FD170

    Rental Air dryer FD514

    Rental Air dryer FD516

    Rental Air dryer BD260

4. Rental Tank

    Rental Air receiver tank 1,000 Ltrs.

    Rental Air receiver tank 2,000 Ltrs.

    Rental Air receiver tank 5,000 Ltrs.

จำหน่ายเครื่องอัดลม Air Compressor Atlas Copco

เครื่องอัดลมชนิดสกรูแบบ Oil injected G (VSD) และ GX

เครื่องอัดลมชนิดสกรูแบบ Oil injected  รุ่น GA และ GA+

เครื่องอัดลมชนิดสกรูแบบ Oil injected  รุ่น GA VSD และ GA VSD+

คอมเพรสเซอร์สกรูแบบเติมน้ำ AQ

 

G & GX powerful compact oil-injected rotary screw air compressor model เครื่องอัดลมหรือปั๊มลมชนิดโรตารี่สกรูที่มีขนาดกะทัดรัดและแข็งแรง ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี ทนทาน จึงทำให้มั่นใจเรื่องคุณภาพของลมที่ผลิตแม้ในสภาพอากาศที่ร้อนกว่า 46°C เครื่องอัดลมหรือปั๊มลมขนาดใหญ่ของเราจะมีการติดตั้งแผง Elektronikon® ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยลดต้นทุนด้านการใช้พลังงานลงดังนั้นเราจึงนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้กับเครื่องอัดลมหรือปั๊มลมขนาดเล็กบางรุ่นเพื่อสามารถช่วยให้คุณลดต้นทุนการผลิตแม้ว่าจะเป็นปั๊มลมตัวเล็กก็ตาม

 - แบบติดตั้งบนพื้น

 - แบบติดตั้งบนตัวถังเก็บลม

 - สามารถเลือกได้ว่าต้องการแบบมี Air Dryer หรือไม่มีก็ได้

 

เครื่องอัดลมชนิดสกรูแบบ Oil injected  รุ่น GA และ GA+

ปั๊มลม Atlas Copco คอมเพรสเซอร์สกรูแบบเติมน้ำมัน GA ของเรามีประสิทธิภาพการทำงานชั้นนำในอุตสาหกรรม การทำงานที่ยืดหยุ่นและกำลังผลิตที่สูง ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานโดยมีต้นทุนในการเป็นเจ้าของต่ำสุด คอมเพรสเซอร์ที่มีให้เลือกหลายรุ่นให้คุณสามารถค้นหาโซลูชันอากาศที่เหมาะสมที่สุดกับข้อกำหนดที่เฉพาะเจาะจงของคุณ  GA  ของ Atlas Copco  สร้างมาเพื่อการทำงานในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุด เพื่อให้การผลิตของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เครื่องอัดลมชนิดสกรูแบบ Oil injected รุ่น GA VSD และ GA VSD+

 GA VSD และ GA VSD+

การดําเนินการมีความต้องการอากาศที่ไม่คงที่ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราจึงบุกเบิกเทคโนโลยีตัวปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (VSD) สําหรับคอมเพรสเซอร์เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการของคุณได้รับปริมาณอากาศตามความต้องการและเวลา วิธีนี้ช่วยให้มั่นใจว่าคอมเพรสเซอร์ของคุณจะไม่ใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น ช่วยลดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 22% โดยเฉลี่ย

คอมเพรสเซอร์สกรูแบบเติมน้ำ AQ

AQ Oil free water injected

คอมเพรสเซอร์สกรูแบบเติมน้ำ AQ ตรงตามความต้องการด้านอากาศบริสุทธิ์ของคุณ คอมเพรสเซอร์นี้ส่งมอบประสิทธิภาพด้านพลังงานที่ดีที่สุดในคลาสสำหรับการใช้งานที่ต้องการความน่าเชื่อถือและความบริสุทธิ์

ปั๊มลม Oil free ปลอดภัยจากการปนเปื้อนน้ำมัน 100%

-  การันตีคุณภาพมาตราฐาน Quality Air ISO8573-1 Class 0 (2010)

-  ระบบ water-injected ที่มีน้ำหรืออากาศในการถ่ายเทความร้อน จึงมั่นใจเรื่องการปนเปื้อนของคุณภาพลม

-  สามารถผลิตลมอัดที่ความดันสูงถึง 13 bar อย่างต่อเนื่อง-  Integrated dryer เพื่อคุณภาพของลมอัดและประหยัดมากขึ้น

 -  ระบบเสียงเบาจึงไม่จำเป็นต้องแยกห้องสำหรับปั๊มลม

-  ประหยัดพลังงานสูงถึง 35%

อากาศปลอดภัย 100% และคุณภาพสูงเพลิดเพลินไปกับการใช้งานและต้นทุนการบำรุงรักษาที่ต่ำด้วยคอมเพรสเซอร์ที่ได้รับการรับรอง AQ กำจัดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนด้วยอากาศไร้น้ำมัน 100% สำหรับการใช้งานที่ต้องการระดับความบริสุทธิ์ของอากาศสูงสุด เช่น

- การแพทย์ - การผลิตทางเภสัชกรรม  - การผลิตอาหาร  - อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ 

คอมเพรสเซอร์สกรูแบบเติมน้ำและระบายความร้อนด้วยน้ำหรืออากาศที่ตรงตามความต้องการอากาศที่มีคุณภาพของคุณมาพร้อมสมรรถนะในแรงดันสูงและใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปรับให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของคุณ

ตัวควบคุม Elektronikon® สามารถปรับให้ตรงกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของคุณได้ด้วยเซนเซอร์พิเศษ

การติดต่อแบบดิจิตอล  ฟิลด์บัส  อินเตอร์เน็ตและฟังก์ชันการสื่อสารผ่าน SMSเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในห้อง

คอมเพรสเซอร์ทั้งหมดโดยการใช้ตัวควบคุมคอมเพรสเซอร์หลายตัว ES

 

Air dryer

Refrigerated air dryer

Desiccant Air Dryer

Air Blower

Oil free Rotary Screw Blower

Filter

Filter Dry Duct filter

Filter oil Aerosol

Filter oil Vapor

Filter Special Application

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Tel: 082-829-2365

 

 

บริษัท เช็งเค่น จำกัด

29/27 ม. 2 ต. ลำโพ อ. บางบัวทอง

จังหวัดนนทบุรี 11110 

Tel: 082-829-2365, 02-525-8650

Fax: 02-525-8655

E-mail: info@schenken.co.th

E-mail: sales@schenken.co.th 

https://www.aircompressor-aircompressor.com/

https://www.schenken.co.th


 

ปั๊มลมชนิดสกรูมีลักษณะการทำงานอย่างไร

"How does a screw compressor work?"

เครื่องอัดอากาศชนิดสกรูหรือปั๊มลมสกรูคืออะไร และหลักการทำงานพื้นฐานเป็นอย่างไร? วันนี้เราจะมาพูดถึงเทคโนโลยีของเครื่องอัดลมชนิดสกรู

ในปีพ.ศ. 2430 ปั๊มลมแบบสกรูได้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมโดยมีส่วนประกอบที่เรียกว่า A male rotors (เพลาตัวผู้) และ A Female rotors (เพลาตัวเมีย) ซึ่ง ในปั๊มลมชนิดสกรูแบบใช้น้ำมันหล่อเย็นในห้องสกรู Male Rotor จะเป็นตัวส่งกำลัง Female Rotor และในขณะที่เทคโนโลยีของระบบของปั๊มลมแบบไร้น้ำมันหล่อเย็นนั้นตัวเพลาทั้ง 2 ตัวจะต้องทำงานสอดคล้องกัน โดยไม่ให้เพลาทั้งสองตัวสัมผัสกัน ดังนั้นเราจึงมีการคำนวณระยะห่างในช่วงที่ใกล้ที่สุดของเพลาทั้งสองตัวเอาไว้

หลักการทำงานพื้นฐานของปั๊มลมสกรูคือเพลาตัวผู้และเพลาตัวเมียจะหมุนในทิศทางตรงกันข้ามและทำการดูดอากาศเข้ามาอยู่ตรงกลาง เมื่ออากาศไหลไปตามช่องของเพลาอากาศจะถูกบีบอัดเนื่องจากช่องว่างระหว่างเพลาจะแคบลง ดังนั้นเมื่ออากาศถูกบีบอัดแล้วจะถูกเคลื่อนที่ไปยังช่องทางออก ซึ่งความเร็วของเพลาจะถูกปรับให้เหมาะสมในระดับหนึ่งเพื่อลดการสูญเสียทางเชิงกล (เนื่องจากความร้อนที่ความเร็วสูงมาก) และการสูญเสียปริมาตร (การสูญเสียอากาศเนื่องจากความเร็วต่ำมาก) ซึ่งแตกต่างจากปั๊มลมแบบลูกสูบ (Piston Compressor) ปั๊มลมแบบสกรูซึ่งไม่มีวาล์วและไม่มีแรงทางกลไกลที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลซึ่งหมายความว่าสามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงร่วมกับอัตราการไหลในปริมาตรมากในขณะที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก

Atlas Copco “GAVSD+” เป็นตัวอย่างของเครื่องอัดอากาศแบบใหม่ที่มีขนาดเล็ก (small foot print) แต่สามารถผลิตลมอัดได้ในปริมาณมาก มีขนาดตั้งแต่ 7kw-110kw. และสามารถผลิตลมได้ตั้งแต่ 7 l/s - 345l/s ทั้งยังช่วยท่านประหยัดค่าไฟได้ถึง 50%

 

ปั๊มลม (Air Compressor) ทำหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูงเพื่อนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การใช้งานระบบนิวเมติกส์ในอุตสาหกรรมเล็กๆ ยกตัวอย่างเช่นอู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นปั๊มลมประเภทลูกสูบ ที่มีการใช้ปริมาณลมน้อยเเละแรงดันลมไม่สูง ปั๊มลมประเภทลูกสูบจึงเหมาะกับอุตสาหกรรมเล็กๆ  ส่วนเครื่องปั้มลมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนมากแล้วจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทโรตารีสกรู ที่ให้ปริมาณลมที่มากและยังสามารถทำความดันลมได้สูงถึง 13 บาร์

ปั๊มลมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

1. ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Reciprocating Air Compressor)

2. ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)

3. ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor)

4. ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)

5. ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)

6. ปั๊มลมประเภทกังหัน (Redial and axial flow Air Compressor)

โดยส่วนใหญ่แล้วปั๊มลมที่นิยมใช้กันมี 2 ประเภทได้แก่ ปั๊มลมประเภทลูกสูบ และ ปั๊มลมประเภทสกรู จะเห็นตามอู่ซ่อมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และในโรงงานอุตสาหกรรม

1. ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Piston Air Compressor)

ปั๊มลมประเภทลูกสูบ

หลักการทำงานปั๊มลมลูกสูบ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังมาขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ทำให้เกิดแรงดูดและอัดอากาศภายในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วทางด้านดูดและวาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน ถือเป็นปั๊มลมที่นิยมใช้งานมากที่สุดด้วยความเหมาะสมต่อการใช้งานและราคาที่ไม่สูงมากนักและยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกอีกด้วย โดยปั๊มลมชนิดนี้สามารถสร้างความดันหรือแรงดันลมได้ตั้งแต่ 1 bar ไปจนถึง 1,000 bar เลยทีเดียว โดยแรงอัดจะขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ยิ่งขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างแรงอัดได้สูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง สำหรับปั๊มลมหรือเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ ยังแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆได้อีกอย่างเช่น Booster Air Compressor, High Pressure Air Compressor ปั๊มลมแรงดันสูงแต่ให้เสียงที่เงียบ เพราะโดยปกติแล้วปั๊มลมประเภทลูกสูบนั้นจะมีข้อเสียอย่างหนึ่งคือเสียงดังขณะเครื่องทำงาน

2. ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)

ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม เป็นปั๊มลมที่ใช้หลักการทำงานคล้ายระบบลูกสูบแต่จะมีแผ่นไดอะเฟรมเป็นตัวกั้นไม่ให้อากาศสัมผัสกับลูกสูบ ทำให้ลมที่ถูกดูดเข้าไปในปั๊มหรือเครื่องอัดลมจะไม่โดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ ส่วนลมที่ได้ก็จะไม่มีการผสมกับน้ามันหล่อลื่นสามารถสร้างแรงดันได้สูงคล้ายปั้มลูกสูบขึ้นอยู่กับการออกแบบขั้นในการอัด ปั๊มลมชนิดนี้ ก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันคือลมที่ได้ออกมาจะเป็นลมที่สะอาดไม่มีอะไรปนเปื้อน จึงมีการนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมกรรมอาหาร ใช้ปั้มเพื่อส่งสารเคมีต่างๆ เป็นต้น ข้อดีอีกอย่างคือมีเสียงที่เงียบกว่าปั๊มลมแบบลูกสูบ เหมาะกับอุตสาหกรรมที่ต้องการความเงียบและเสียงรบกวนน้อย

3. ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor)

ปั๊มลมประเภทสกรู เป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป เพราะเครื่องปั๊มลม หรือ Air Compressor ประเภทนี้จะให้การผลิตลมที่มีคุณภาพสูง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการหมุนเพลาสกรู 2 ตัวให้หมุนเข้าหากันทำให้เกิดแรงอัดอากาศขึ้นมา เครื่องอัดลมแบบสกรูจะได้ปริมาณลมที่สม่ำเสมอกว่าแบบลูกสูบและ ทั้งนี้ปริมาณลมและแรงดันลมขึ้นอยู่กับกำลังของมอเตอร์และการออกแบบชุดสกรู ยิ่งกำลังสูงตัวเครื่องอัดอากาศก็จะสามารถผลิตปริมาณอากาศได้มากและมีขนาดที่ใหญ่ตามด้วย เครื่องปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศประเภทนี้จะสามารถจ่ายลม 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และยังสามารถทำความดันได้สูงถึง 13 บาร์เลยทีเดียว

เครื่องปั๊มลมหรือเครื่องอัดลมประเภทนี้ยังถูกแบบออกเป็นประเภทย่อยๆได้อีก อาทิเช่น

– Belt Drive Screw Air Compressor

– Direct Drive Screw Air Compressor

– Gear Drive Screw Air Compressor

– Variable Speed Drive Screw Air Compressor

– Vacuum Screw Air Compressor

– Single Stage Screw Air Compressor

– Two Stage Screw Air Compressor

4. ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)

ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน จุดเด่นของปั๊มลมประเภทนี้คือการที่เครื่องหมุนเรียบให้ความสม่ำเสมอ ทำให้อากาศที่ออกมามีแรงดันที่คงที่ เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงลมที่สม่ำเสมอและคงที่ เครื่องปั๊มลมประเภทนี้จะไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการเปิดปิดในพื้นที่จำกัดทำให้ไวต่อความร้อน สามารถกระจายแรงลมได้ 4 – 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ความดันของลมอยู่ที่ 4 – 10 บาร์

5. ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)

ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน ลักษณะของปั๊มลมประเภทนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทำการหมุน จะทำให้ลมถูกดูดเข้าไปจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยอากาศที่ถูกดูดเข้าไปนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนปริมาตร ทำให้อากาศที่ไม่ถูกบีบหรืออัดตัว แต่อากาศจะมีการอัดตัวตอนที่เข้าไปเก็บในถังลม ปั้มลมประเภทนี้ต้องอาศัยการระบายความร้อนและอุณหภูมิที่ดี ไม่มีลิ้น ไม่ต้องการหล่อลื่นขณะทำงาน และมีต้นทุนการผลิตที่สูง ลักษณะการทำงานของปั๊มลมแบบใบพัดหมุน จะใช้ใบพัดหมุน 2 ตัวทำการหมุน ทำให้มีการดูดอากาศจากทางช่องลมเข้าผ่านเข้าใบพัดที่ 1 แล้วส่งต่อไปพัดที่ 2 แล้วผ่านไปฝั่งลมออก โดยไม่ทำให้อากาศถูกบีบตัวหรืออัดตัว

6. ปั๊มลมประเภทกังหัน (Redial and axial flow Air Compressor)

Radial and Axial ปั๊มลมประเภทกังหัน เป็นปั๊มลมอีกประเภทหนึ่งที่มีการจ่ายอัตราลมที่มาก เนื่องจากลักษณะจะเป็นใบพัดกังหันดูดลมเข้าจากอีกด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ตามแกนด้วยการหมุนที่มีความเร็วสูง และลักษณะของใบพัดก็เป็นส่วนสำคัญเรื่องอัตราการจ่ายลม สามารถกระจ่ายแรงลมได้ตั้งแต่ 170 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min)

ปั๊มลม oil free คือ ปั๊มลมที่ใช้ระบบหล่อลื่นด้วยน้ำแทนน้ำมัน ซึ่งน้ำหล่อลื่นในระบบจะมีความร้อนไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส และ เสียงของระบบหล่อลื่นด้วยน้ำจะต่ำกว่า 10 เดซิเบล อากาศที่ไหลออกจากของเครื่องปั๊มลมจะปราศจากน้ำมัน มีความบริสุทธิ์ไม่มีสิ่งปนเปื้อน ทำให้เพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยให้กับกระบวนการผลิต เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้เครื่องปั๊มลมอัดในกระบวนการผลิตยา หรือ อาหาร เป็นต้น

โดย ปั๊มลม oil free ที่ใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมใช้จะมีอยู่หลายแบบ หนึ่งในเครื่องปั๊มลมที่ได้รับความนิยมสูงสุดจะเป็นแบบ oil free single screw air compressor จะเป็นระบบที่ใช้สกรูเดี่ยวหมุนแนบกันกับชุดสตาร์เกียร์ทั้งสองชุดเพื่อทำการอัดลมโดยจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อนทำให้อุณหภูมิในห้องอัดต่ำและน้ำยังช่วยซีลช่องว่างในการอัดทำให้ได้ปริมาณลมที่สูงกว่าแบบอื่นๆและยังมีข้อดีอื่นๆอีกมาก

ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงเลือกใช้เครื่องปั๊มลม oil free

เครื่องปั๊มลม oil free หรือ oil free single screw air compressor มีจุดเด่นคือ

ลมอัดที่ได้สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากน้ำมันและสิ่งสกปรกได้รับมาตรฐาน Quality Air ISO8573-1 Class “0”

ปั๊มลม oil free screw air compressor มีเสียงที่เงียบกว่าเครื่องปั๊มลมชนิดอื่นสามารถผลิตลมอัดที่ความดันสูงถึง 13 bar ได้อย่างต่อเนื่อง (จำนวน ความดัน bar ขึ้นอยู่กับรุ่นที่ใช้งาน โดยมีให้เลือกตั้งแต่ 7-13 bar) ประหยัดพลังงานและได้ลมอัดที่มากกว่าระบบอื่น ในขณะที่ใช้พลังงานเท่ากัน

Single screw สามารถ over horn ได้เหมือนใหม่ ทำให้ไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากเพื่อซื้อใหม่

Air Fitter ปั๊มลมสำคัญอย่างไร?

ในปัจจุบันเครื่องอัดลม (Air compressor) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ก็มักประสบปัญหาเกี่ยวกับ ลมอัด (Compressed air) ที่ได้ไม่สะอาดเพียงพอเราจึงควรให้ความสำคัญกับการกรองสิ่งสกปรกต่างๆออกจากลมอัดให้มากที่สุด

โดยปรกติแล้วในบรรยากาศรอบๆโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมักจะมีอนุภาคเล็กต่างๆเช่น ไอระเหยของน้ำมัน, ฝุ่นละอองต่างๆ ปะปนอยู่กับบรรยากาศ ซึ่งอนุภาคเหล่านี้มักจะทำให้ระบบลมอัดมีปัญหาตามมา ดังนั้นเราต้องเลือกใช้ระบบ Air filter ให้เหมาะกับการใช้งานของระบบลมอัด

Air Filter ชนิด Surface Filter

เปรียบเสมือนมุ้งลวด หลักการทำงานคือ อนุภาคที่ใหญ่กว่าขนาดของรูของมุ้งลวดจะถูกกั้นไว้ และส่วนที่เล็กกว่าจะผ่านไปได้ ดังนั้นขนาดของการกรองขึ้นอยู่กับขนาดของรูเหล่านี้จะเล็กกว่าหรือใหญ่กว่า

Air Filter ชนิด Depth Filter

ส่วนใหญ่ Air filter ประเภทนี้จะทำมาจากไมโครไฟเบอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยเล็กๆ วางซ้อนกันอยู่หลายๆชั้น การกรองไม่ได้อาศัยแค่รูเป็นตัวกำหนดความละเอียดในการกรอง แต่อาศัยหลักการกรองทั้งหมด 5 อย่างคือ

Direct Impact ในกรณีที่อนุภาควิ่งเข้ามากระทบโดยตรงกับไฟเบอร์ก็จะถูกจับยึดไว้

Inertial Effect ในกรณีที่อนุภาควิ่งแฉลบผ่านไฟเบอร์ ก็จะทำให้อนุภาคมีความเร็วลดลงและเมื่อกระทบกับไฟเบอร์เส้นถัดๆไปก็จะถูกจับยึด

Diffusion Effect ในกรณีที่อนุภาคเล็ก การเคลื่อนจะไม่เป็นเส้นตรง แต่จะไหลเป็นซิกแซกไปเรื่อยๆ ถ้าสามารถผ่านเส้นไฟเบอร์แรกไปได้ก็จะถูกจับไว้ได้ไฟเบอร์เส้นถัดๆไป

Electrostatic Effect ในกรณีที่อนุภาคเล็กมาก (0.01 ไมครอน) เมื่อเคลื่อนที่ผ่านไฟเบอร์ 2-3 ชั้นแรก ก็จะเกิดการเสียดสีทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตขึ้นในอนุภาค ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไฟเบอร์ กับ อนุภาคนั้นๆ

Adsorption Effect เป็นผลจากการวิ่งกระทบไฟเบอร์ ของอนุภาคไฟเบอร์ซึ่งมีความนุ่มในตัวจะจับยึดอนุภาคไว้โดยการดูดซับเข้าไปในเนื้อของไฟเบอร์

Air Filter ที่ดีควรจะประกอบไปด้วย pre-filter stage และ final stage ในตัวเดียวกัน และควรจะมีวัสดุที่ไม่มีสารแม่เหล็กเป็นตัว support ของโครงสร้างของไส้กรอง เพราะดังที่กล่าวไว้แล้ว อนุภาคบางตัวจะเกิด electrostatic effect ซึ่งถ้า support เป็นสารแม่เหล็ก อนุภาคเหล่านี้จะไปเกาะอยู่ที่ support แทน

การกรองขั้นตอนสุดท้าย ก็จะมีโฟมหุ้มรอบตัวไส้กรองไว้เพื่อคอยดูดซับน้ำมันและน้ำ และปล่อยให้ตกลงด้านล่างซึ่งต้องมีตัวระบายอัตโนมัติ (Auto-drain) ติดตั้งอยู่ด้านล่าง

ในการติดตั้งเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) ใหม่ให้กับโรงงาน บ่อยครั้งที่มักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเลือกขนาดของเครื่องอัดลมขนาดเท่าไร จึงจะเพียงพอสำหรับอุปกรณ์ลมทั้งหมดในโรงงาน

หลักการเลือก Air Compressor และสิ่งที่ต้องพิจารณาถึงคือ

แรงดันลม Pressure

ปริมาณลมที่ต้องการใช้  Volume of Air

1. แรงดันลม Pressure

ในการเลือกเครื่องอัดลม Air Compressor อันดับแรกจะต้องพิจารณาว่าเครื่องอัดลม หรือ Air Compressor ที่เราเลือกนั้น สามารถสร้างแรงดันได้เพียงพอสำหรับการใช้งานของเราหรือไม่ โดยมีหลักการเลือกขนาดแรงดัน Pressure ง่ายๆ คือ พิจารณาจากแรงดันของอุปกรณ์เครื่องมือลม หรือเครื่องจักรแต่ละตัวที่ใช้ว่าอุปกรณ์หรือเครื่องจักรตัวนั้นใช้แรงดันสูงสุด โดยยึดค่าแรงดันสูงสุดนั้น บวกเพิ่มด้วยแรงเสียดทานที่อาจสูญเสียไปจากการเดินท่อและ ชุดกรองลมเป็นค่าแรงดันต่ำสุดที่เครื่องอัดลมที่จะเลือกจะต้องทำได้ ซึ่งเพียงพอจะเขียนสมการได้ดังนี้

แรงดันต่ำสุดที่เครื่องอัดลมจะต้องทำได้ = แรงดันสูงสุดที่จำเป็นต้องใช้ในเครื่องจักร + แรงเสียดทายที่สูญเสียในระบบ

2. ปริมาณลม Volume of Air ที่ต้องใช้ โดยทั่วไปแล้วสำหรับการเลือกประเภทและขนาดปั๊มลมที่มักประสบปัญหาในทางปฏิบัติคือ จะเลือกปั๊มลมที่จ่ายประมาณลมเท่าไรถึงจะเพียงพอสำหรับ Load ในโรงงาน ซึ่งพอจะกล่าวหรือแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้

2.1 เพิ่มขนาดของปั๊มลมเมื่อทราบว่า Pressure ในระบบหรือโรงงานต่ำกว่าที่จะเดินเครื่องจักรได้

2.2 เพิ่มเครื่องอัดลม เนื่องจากเพิ่มเครื่องจักรหรืออุปการณ์ที่ใช้ลมเพิ่มเติม หรือสร้างโรงงานใหม่

 


  • G & GX powerful compact oil-injected rotary screw air compressor model เครื่องอัดลมหรือปั๊มลมชนิดโรตารี่สกรูที่มีขนาดกะทัดรัดและแข็งแรง ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี ทนทาน จึงทำให้มั่นใ...

  • เครื่องอัดลมชนิดสกรูแบบ Oil injected รุ่น GA และ GA+ ปั๊มลม Atlas Copco คอมเพรสเซอร์สกรูแบบเติมน้ำมัน GA ของเรามีประสิทธิภาพการทำงานชั้นนำในอุตสาหกรรม การทำงานที่ยืดหยุ่นและกำลังผ...

  • GA VSD และ GA VSD+ การดําเนินการมีความต้องการอากาศที่ไม่คงที่ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราจึงบุกเบิกเทคโนโลยีตัวปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (VSD) สําหรับคอมเพรสเซอร์เพื่อให้มั่นใจว่ากระบว...

  • AQ Oil free water injected คอมเพรสเซอร์สกรูแบบเติมน้ำ AQ ตรงตามความต้องการด้านอากาศบริสุทธิ์ของคุณ คอมเพรสเซอร์นี้ส่งมอบประสิทธิภาพด้านพลังงานที่ดีที่สุดในคลาสสำหรับการใช้งานที่ต้อ...
Visitors: 56,907